อาการของ "วุ้นในตาเสื่อม"

1056 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อาการของ "วุ้นในตาเสื่อม"

โดยปกติแล้วภาวะวุ้นในลูกตาเสื่อมมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบว่าภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นกับหนุ่มสาวคนทำงานออฟฟิศมากขึ้น จากพฤติกรรมการใช้หน้าจอมากเกินไป ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรทำความเข้าใจ เพื่อปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม

โดยจะอยู่ทางด้านหลังเนื้อเยื่อเลนส์ เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นลูกตาจะเกิดการเสื่อมและกลายเป็นน้ำบางส่วน มักเกิดกับผู้ที่มีอายุมาก 40 ปีหรือ 50 ปีขึ้นไป เว้นแต่ในบางบุคคลที่อาจเกิดภาวะเสื่อมก่อนอายุดังกล่าว ด้วยปัจจัยบางอย่าง เช่น การได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตา การผ่าตัดที่กระทำภายในลูกตา หรือในคนที่สายตาสั้นซึ่งจะเกิดการเสื่อมของวุ้นลูกตาได้เร็วกว่าคนทั่วไป อาจเกิดตั้งแต่อายุ 10 กว่าปีหรือ 20 กว่าปี ยิ่งสั้นมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น

ปกติแล้วไม่ทราบแน่ชัดว่าวุ้นลูกตามีหน้าที่อะไร เมื่อเกิดการเสื่อมจึงไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากนัก แต่ถ้าหากเสื่อมมากวุ้นตาจะจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ส่วนที่ใสๆ เกิดเป็นฝ้า เมื่อมีแสงเข้ามาเยอะๆ จะเกิดเป็นเงาตกไปที่จอประสาทตา และเกิดเป็นจุดดำข้างใน หากวุ้นตากลายเป็นน้ำจุดดำจะลอยไปลอยมา และมักเห็นในที่ที่สว่างมากๆ หรือเมื่อมีแสงเข้ามาเยอะๆ จนทำให้เกิดเงาขึ้น แต่ในที่มืดจะมองไม่เห็นจุดดำที่ว่าเพราะไม่เกิดเงาที่จอประสาทตา บางครั้งอาจเกิดการดึงจอประสาทตา ทำให้เหมือนมีแสงแวบขึ้นมาคล้ายแฟลช และมักเห็นในที่มืด ปัญหาคืออาจทำให้เกิดการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ ทำให้น้ำที่เกิดจากการเสื่อมของวุ้นไหลผ่านเข้าไปทางรอยฉีกขาด ทำให้จอประสาทตาลอก และส่วนที่ลอกจะเกิดการมองไม่เห็น คนไข้จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมาบังตาไว้ และส่วนที่มองไม่เห็นนั้นจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ


โดยทั่วไปมักเกิดกับคนอายุมากตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ในบางรายอาจมีปัจจัยมากระตุ้นให้เกิดภาวะดังกล่าวได้เร็วขึ้น ได้แก่ การได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตา การรับการผ่าตัดที่กระทำภายในดวงตา หรือในคนที่มีปัญหาสายตาสั้นซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น ยิ่งสั้นมากยิ่งเสี่ยงมาก โดยเฉพาะผู้ที่สายตาสั้นตั้งแต่ 600 ขึ้นไป ส่วนการเพ่งที่หน้าจอนานๆ ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัด ว่าทำให้เกิดการเสื่อมของวุ้นลูกตา แต่ในขณะเพ่งอาจทำให้เกิดการสั้นของสายตาแบบชั่วคราว เมื่อเลิกใช้หน้าจอหรือเลิกเพ่งแล้วพักให้เต็มที่ก็จะกลับสู่ภาวะปกติและไม่มีผลต่อวุ้นในลูกตา แต่ถ้าหากเพ่งนานติดต่อกันอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตา เคืองตา หรือปวดตา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้